เมนู

ประการหนึ่ง สมเด็จพระบรมกษัตริย์ย่อมตรัสติเตียนบุคคลผู้มิยำเกรงต่อพระราช-
อาญา ล่วงละเมิดพระราชกำหนดกฎหมาย เป็นผู้ร้ายควรจะลงโทษแล้ว ทรงกำจัดเสียฉันใด
สมเด็จพระสัพพัญญูเจ้าก็ทรงติเตียนบุคคลอลัชชีที่ไม่ประพฤติพระวินัยบัญญัติ เหมือนฉันนั้น
ประการหนึ่ง สมเด็จบรมกษัตริย์ย่อมทรงแสดงธรรมานุธรรมปฏิบัติ พระราชทาน
โอวาทแก่ข้าแผ่นดินเสวยพระราชสมบัติโดยยุติธรรมตามประเพณีแห่งพระบรมกษัตริย์แต่ปางก่อน
กระทำให้ชาวพระนครทั้งหลายมีความนับถือยำเกรงพระบรมเดชานุภาพ รักใคร่ปรารถนาและ
ทรงสถาปนาวงศ์แห่งตระกูลของพระบรมกษัตริย์ไว้ให้มั่นคง ดำรงอยู่ต่อไปด้วยกำลังแห่งพระ
คุณธรรมฉันใด แม้สมเด็จพระสัพพัญญูเจ้าก็ทรงแสดงข้อธรรมานุธรรมปฏิบัติให้พระพุทธโอวาท
ตรัสสอนหมู่ประชากรสัตว์โลกทั้งปวงตามประเพณีแห่งพระสัพพัญญูเจ้าแต่ปางก่อน กระทำ
ให้สรรพสัตว์ทั้งหลายรักใคร่ปรารถนาทั้งเทวดาและมนุษย์ ยังพระศาสนาอันบริสุทธิ์ ให้ถาวร
ตั้งมั่นคงดำรงอยู่นานด้วยกำลังแห่งพระคุณธรรม ดุจสมเด็จพระบรมกษัตราธิราชฉันนั้น
มหาราช ขอถวายพระพร สมเด็จพระชินวรบรมศาสาดาจารย์มีพระพุทธฎีกาตรัส
เรียกพระองค์ว่า เป็นพราหมณ์บ้าง เป็นกษัตริย์บ้าง ด้วยมีเหตุมากมายหลายประการ แม้
ภิกษุจะเป็นผู้มีโวหารอันฉลาดพรรณนาไปตลอดกัลป์หนึ่ง ก็ไม่สามารถจะให้สิ้นสุดได้ ต้อง
การอะไรที่จะพรรณนาให้มากไปกว่าเหตุ เชิญบพิตรรับไว้ปฏิบัติ ตามที่อาตมาถวายวิสัชนา
โดยย่อฉะนี้ ขอถวายพระพร
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ปิ่นประชากร ได้ทรงฟังพระนาคเสนผู้ปรีชาถวายวิสัชนาดังนั้น ก็
มีพระหฤทัยเบิกบาน ยอพระกรนอบนบเคารพซ้องสาธุการดุจนัยหนหลัง
ภควโต ราชปัญหา คำรบ 7 จบเท่านี้

ทวินนัง พุทธานัง โลเก อุปปัขชนปัญหา ที่ 8


ราชา

สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ผู้เป็นปิ่นประชาชาวสาคลราช มีพระราชโองการประภาษ
ถามอรรถปัญหาอื่นสืบไปเล่าว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้เป็นเจ้าอันประ
กอบด้วยปรีชาญาณ สมเด็จพระบรมโลกนาถศาสดาจารย์ มีพระพุทธฎีกาตรัสว่า เทฺว สมฺ-
มาสมฺพุทฺธา
สมเด็จพระพุทธเจ้า 2 พระองค์จะได้ตรัสพร้อมกันในโลกธาตุนี้หามิได้ ก็สมเด็จ
พระพุทธเจ้าทั้งหลายนั้นจะตรัสพระสัทธรรมเทศนาสิ่งใดเล่า พระองค์เจ้าก็ตรัสพระสัทธรรมเทศ-

นาดุจเดียวกันเหมือนกันทั้งนั้น จะได้ผิดแปลกแยกออกไปให้ต่างกันหามิได้ จะบัญญัติสิกขาบท
พระวินัยนั้นเล่า ก็มีอนุสนธิอันเดียวกัน ก็เหตุไฉนสมเด็จพระสัพพัญญูเจ้าทั้งหลายจึงไม่ตรัส
ในโลกธาตุพร้อมกันเล่า ถ้าแม้สมเด็จพระสัพพัญญูเจ้าได้ตรัสในโลกธาตุอันเดียวกันนี้พร้อมกัน
โลกธาตุจะรุ่งเรืองยิ่งขึ้นไป ด้วยเป็นสมเด็จพระศาสดาจารย์ทั้งสองพระองค์ จะได้ช่วยกัน
เทศนาโปรดฝูงนิกรมนุษย์เทวดา จะได้ช่วยกับบัญญัติสิกขาบทภิกษุภิกษุณีอุบาสกอุบาสิกา
ให้ภิยโยภาวะรุ่งเรืองยิ่ง ๆ ขึ้นไป นี่แหละโยมยังสงสัยว่าแม้สมเด็จพระบรมโลกนาถศาสดา-
จารย์ตรัสพระสัทธรรมเทศนาเหมือนกัน บัญญัติธรรมสิ่งใดเหมือนกัน ก็ทำไมจึงไม่ตรัสพร้อม
กันเล่า นี่แหละพระผู้เป็นเจ้า โยมนี้สงสัยนักหนา นิมนต์พระผู้เป็นเจ้าวิสัชนาให้แจ้งก่อน
พระนาคเสนจึงวิสัชนาว่า มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภารผู้ประเสริฐ อยํ
ทสสหสฺสโลกธาตุ
อันว่าหมื่นโลกธาตุนี้ เอกพุทฺธธาริณี มีปรกติจำเพาะจะทรงสมเด็จพระพุทธ-
เจ้าไว้ได้แต่พระองค์เดียว จะทรงไว้ซึ่งคุณแห่งสมเด็จพระพุทธเจ้าได้แต่พระองค์เดียวเท่านั้น ยทิ
ทุติโย พุทฺโธ อุปฺปชฺเชยฺย
ถ้าว่าเสด็จพระพุทธเจ้าพระองค์ที่ 2 จะมาตรัสอีกพร้อมกันเป็น
2 พระองค์ ในห้องหมื่นโลกธาตุนี้แล้ว สมเด็จพระพุทธเจ้าทั้ง 2 พระองค์จะช่วยกันตรัสพระ
สัทธรรมเทศนาโปรดฝูงนิกรสัตว์ อยํ ทสสหสฺสโลกธาตุ อันว่าหมื่นโลกธาตุนี้มิอาจจะทรงพระ
พุทธคุณไว้ได้ จเลยฺย ก็จะพึงหวั่นไหว กมฺเปยฺย จะพึงให้สะท้านสะเทือนไป นเมยฺย จะพึงน้อม
ไป วินเมยฺย จะพึงน้อมไปต่าง ๆ นฏฺฐานมุปคจฺเฉยฺย จะเข้าถึงซึ่งความฉิบหาย มหาราช
ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภารผู้ประเสริฐ เปรียบดุจนาวาลำเดียว เอกปุริสสนฺธารณี
มีปรกติดุจแต่พอบุรุษคนเดียวจะข้ามฝั่งได้ บุรุษผู้นั้นจึงลงสู่นาวาด้วยคิดว่าจะข้ามฟาก นาวาก็จุ
แต่บุรุษผู้นั้น ยังมีบุรุษผู้หนึ่งล่ำสันโตใหญ่เท่ากันกับผู้นั้นจะมาโดยสารข้ามฟาก จะลงมานั่งใน
นาวานั้นเป็น 2 คนด้วยกัน นาวาน้อยนั้นจะบรรทุกคนทั้ง 2 ข้ามไปถึงฝั่งได้หรือประการใด
พระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดีตรัสว่า ไม่ได้ นะพระผู้เป็นเจ้า ด้วยนาสานั้นเล่าก็น้อย แต่
บุรุษคนเดียวลงนั่งอยู่ก็เพียบเต็มที่อยู่แล้ว ยังจะมีบุรุษล่ำสันเท่ากันโดยสารเล่า แต่พอนั่งลง
นาวานั้นก็อาจทรงได้ ก็จะล่มลงเป็นมั่นคงเที่ยงแท้ในกระแสคงคา
พระนาคเสนจึงอุปมาว่า ยถา ข้อความอันนี้ฉันใด มหาราช ขอถวายพระพรบพิตร
พระราชสมภารผู้เป็นขัตติยาธิบดี อยํ ทสสหสฺสโลกธาตุ อันว่าหมื่นโลกธาตุนี้ เอกพุทฺธธาริณี
จำเพาะจะทรงได้แต่สมเด็จพระพุทธเจ้าองค์เดียว แม้สมเด็จพระพุทธเจ้ามาตรัสในหมื่น
โลกธาตุ เป็น 2 พระองค์ หมื่นโลกธาตุมิอาจทรงได้ มีอุปมาอุปไมยเหมือนนาวาน้อยลอย
ลำจำเพาะจุแต่บุรุษผู้นั้น ครั้นลงเป็น 2 คนก็ล่มไป หมื่นโลกธาตุก็จะทรุดสูญไปมิอาจทรงไว้
ซึ่งพระพุทธคุณแห่งสมเด็จพระพุทธเจ้า อันมาตรัสพร้อมกันเป็นสองได้เป็นอันขาด มหาราช

ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร เปรียบปานดังบุรุษผู้หนึ่งบริโภคอาหารอิ่มเต็มท้องตลอด
คอหอยแล้ว สุดที่จะรับประทาน ยังจะขืนให้กินอาหารเข้าไปเท่าที่กินนั้นอีกเล่า นี่แหละบุรุษผู้
นั้นเมื่อบริโภคอาหารเข้าไปใหม่ บุรุษผู้นั้นจะมีความสุขหรือว่าหามิได้
พระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดีมีพระราชโองการตรัสว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระ
นาคเสนผู้ปรีชาญาณ บุรุษนั้นบริโภคอาหารอิ่มหนักอยู่แล้ว จักขืนบริโภคเข้าไปอีกเล่า เห็น
เต็มที ก็หน้าที่บุรุษผู้นั้นจะต้องทนทุกข์ให้จุกรากต่าง ๆ ไม่มีความสบาย
พระนาคเสนจึงถวายพระพรว่า มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร
ข้อความที่เปรียบประการฉันใด หมื่นโลกธาตุทรงไว้ซึ่งคุณสมเด็จพระบรมโลกนาถแต่พระ
องค์เดียวก็เต็มที่อยู่แล้ว ถ้าแม้สมเด็จพระโลกนาถจักตรัสพร้อมกันเป็น 2 พระองค์นั้น ก็จะ
ป่วนปั่น หวั่นไหวทรุดเซไปมิอาจต้านทานได้ ตถา มีครุวนาดุจบุรุษอันบริโภคอาหารเกินการณ์
ฉะนั้น
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดี จึงมีพระราชโองการตรัสถามฉะนี้ว่า ภนฺเต นาค-
เสน
ข้าแต่พระนาคเสนผู้ปรีชา แผ่นพสุธาดลนี้หวั่นไหวมิอาจทนได้ซึ่งสิ่งอันหนัก คือ พระอภิ-
ธรรมของสมเด็จพระพุทธเจ้า 2 พระองค์ อันมาตรัสในหมื่นโลกธาตุพร้อมกันนั้นหรือ พระผู้
เป็นเจ้า
พระนาคเสนจึงรับพระราชโองการว่า ดังนั้นน่ะสิบพิตรพระราชสมภาร อีกประการหนึ่ง
ดุจบุรุษผู้หนึ่งเอาเกวียนมา 2 เล่ม บรรทุกของให้เต็มเสมอเรือนเกวียนทั้ง 2 เล่ม แล้วจะขน
ของเสียจากเกวียนเล่มหนึ่ง เอาลงไปบรรทุกลงในเกวียนเล่มเดียวกัน ก็เกวียนเล่มนั้นจะทน
ทานของนั้นได้หรือ พระราชสมภาร
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดี มีพระราชโองการตรัสว่า ภนฺเต นาคเสน ข้า
แต่พระนาคเสนผู้มีญาณอันปรีชา ตกว่าเกวียนเล่มหนึ่งก็บรรทุกของลงไว้เต็มที่อยู่แล้ว มิหนำซ้ำ
จักเอาของอีกเล่มเกวียนหนึ่งมาบรรทุกลงอีกเล่า จะเกิดเหตุเป็นแม่นมั่น อาราปิ แม้กงกำเกวียน
นั้น ภิชฺเชยฺย จะทำลายลง อกฺโขปิ มิฉะนั้นก็เพลาจะหักสะบั้นออกไป นฏฺฐานมุปคจฺเฉยฺย จะ
ต้องเข้าถึงความหายเป็นอันตรายทีเดียว พระผู้เป็นเจ้า
พระนาคเสนจึงวิสัชนาว่า มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร ข้อความ
ประการนี้ ยถา มีครุวนาฉันใด เอวเมว โข อันว่าแผ่นพสุธาดลอันใหญ่นี้ จำเพาะจะทรงได้
แต่พระพุทธคุณสมเด็จพระบรมโลกนาถศาสดามาตรัสแต่พระองค์เดียวเท่านั้น ถ้ามีสมเด็จพระ
บรมโลกนาถศาสดามาตรัสเป็น 2 เข้าอีกเล่า ก็มิอาจทนทานได้ น่าจะวิการไปเหมือนเกวียน
บรรทุกของหนักฉันนั้น


อปิจ มหาราช อีกข้องหนึ่ง ดูกรบพิตรพระราชสมภาร พระองค์จะทรงสวนาการ
ซึ่งเหตุอันสมควร เพื่อจะแสดงกำลังแห่งพระพุทธเจ้าต่อไปดังนี้ เทฺว สมฺมาสมฺพุทฺธา เอกกฺขเณ
อุปฺปชฺเชยฺยุํ
ขอถวายพระพร ถ้าว่าสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า 2 พระองค์ จะมาบังเกิดตรัส
พร้อมกันในโลกธาตุ ช่วยกันเทศนาโปรดสัตว์โลกทั้งหลาย มนุษย์หญิงชายจะแตกออกเป็น 2
ฝ่าย จะวิวาททุ่มเถียงแก่กันด้วยถ้อยคำว่า ตุมฺหากํ พุทฺโธ อมฺหากํ พุทฺโธ สมเด็จพระพุทธ-
เจ้าของท่าน สมเด็จพระพุทธเจ้าของเรา บริษัทก็พากันถือเป็นสองฝ่ายไป ดุจอำมาตย์ข้าราชการ
2 คนอันเป็นข้าเฝ้าสมเด็จบรมกษัตราธิราชเจ้าผู้ประเสริฐตั้งแต่ไว้ต่างพระเนตรพระกรรณ
ให้ปรึกษากิจราชการ และพวกบริวารของอำมาตย์ทั้งสองนั้นก็ถือกันเป็น 2 พวก ว่าอำมาตย์
คนนี้เป็นเจ้านายท่าน อำมาตย์ผู้นั้นเป็นเจ้านายเรา บริวารก็จะเป็นสองเหล่าไป ยถา ความนี้
มีอุปมาฉันใด เทฺว สมฺพุทฺธา อุปฺปชฺเชยฺยุํ สมเด็จพระสัพพัญญูเจ้า 2 พระองค์ จะอุบัติเกิด
พร้อมกัน จะช่วยกันสั่งสอนสัตว์โลกในโลกธาตุนี้ บริษัททั้งหลายจะเกิดวิวาทกันว่า สตฺถา
ตุมฺหากํ สตฺถา อมฺหากํ
สมเด็จพระบรมครูเจ้าองค์นี้ของท่าน สมเด็จพระบรมครูเจ้าองค์
นั้นของเรา บริษัทจะเป็น 2 เหล่ากันฉะนี้ จะเกิดวิวาทกัน เอวเมว เมาะ ตถา มีครุวาดัง
ข้าแห่งอำมาตย์ทั้งสอง ฉะนั้น อุตฺตริการณํ สุโณหิ มหาบพิตรจงฟังเหตุให้ยิ่งไปกว่านี้อีก มหา-
ราช
ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภารพระองค์ผู้ประเสริฐ เทฺว สมฺมาสมฺพุทฺธา อันว่า
สมเด็จพระพุทธเจ้า 2 พระองค์จะมาตรัสเป็นบรมโลกนาถในโลกธาตุ เอกกฺขเณ ในขณะ
เดียวพร้อมกัน คำที่ว่า อคฺโค พุทฺโธ สมเด็จพระพุทธเจ้าเป็นอัครบุคคลนั้น คำอันนี้จะผิดไป
หรือ เชฏฺโฐ พุทฺโธ คำที่ว่าสมเด็พระพุทธเจ้าเจริญโดยวิเศษกว่าคนทั้งหลายอันเจริญก็จะผิด
วิสิฏฺโฐ พุทฺโธ คำที่ว่าสมเด็จพระบรมโลกนาถประเสริฐกว่าเทวามนุษย์อินทร์พรหมอันอุดม
นั้นก็ผิด และคำที่ว่าพระพุทธเจ้าเป็นผู้อุดมบวรหาผู้ใดจะเสมอเปรียบเทียบมิได้นั้นก็จะผิดไป
สิ้น เมื่อแผ่นดินหนึ่งมีพระพุทธเจ้าตรัสพร้อมกันเป็นสองแล้ว จะว่าเลิศว่าประเสริฐ ว่าอุดม
ยิ่งนั้น จะยิ่งจะอุดมที่ไหนเล่า เหตุว่าสมเด็จพระพุทธเจ้าตรัสเป็นด้วยกัน จะว่าประเสริฐอย่างไร
สมฺปฏิจฺเฉยฺยาสิ พระองค์จงสันนิษฐานเข้าพระทัยเถิด ธรรมดาสมเด็จพระพุทธเจ้าบังเกิดใน
โลกธาตุในขณะหนึ่ง จะบังเกิดขึ้นได้แต่พระองค์เดียว ด้วยเหตุดังอาตมาถวายวิสัชนามานั้น
ประการหนึ่ง จะถวายอุปมาให้บพิตรทรงพระสวนาการอีก ยํ โลเก มหนฺตํ สิ่งที่ว่า
โตใหญ่บรรดาที่มีโลกนี้ มีปฐวี คือ แผ่นดินอันใหญ่นี้ สา เอกา แผ่นดินนั้นก็อันเดียว จะมี
เป็นสองหามิได้ สาคโร อันว่าสาครทะเลหลวงอันใหญ่นั้น เอโก เอว อันเดียวแท้จริง สิเนรุ-
ศิริราชา
อันว่าพระสิเนรุราชอันใหญ่เป็นพระยาแก่เขาทั้งปวงนั้น มหนฺโต ใหญ่ เขาพระเมรุนั้น
ไซร้ก็อันเดียวเป็นเจ้าเขา อากาโส อากาศนั้นเล่าโลกกล่าวว่าใหญ่ อากาศนั้นไซร้ก็อันเดียว
ไม่มีอื่นอีกเป็นสอง สกฺโก สมเด็จอัมรินทร์ผู้ครองเมืองดาวดึงส์ มหนฺโต ก็ประเสริฐยิ่ง

อยู่พระองค์เดียว มาโร พระยามารที่ว่าประเสริฐนั้นก็อยู่ผู้เดียว มหาพฺรหฺมา ท้าวมหา
พรหมที่เป็นใหญ่กว่าพรหมทั้งปวง ก็มีอยู่พระองค์เดียว สมเด็จพระสัพพัญญูเล่าเป็นผู้ประเสริฐ
ในโลก ก็มีพระองค์เดียวเหมือนกันฉะนั้น อญฺญสฺส โอกาโส พระเจ้าจะมาตรัสอีกเป็นสองนั้น
จะได้มีโอกาสหามิได้ จำเพาะจะตรัสในโลกได้แต่พระองค์เดียว เป็นธรรมดาจารีตมา ถึงว่าจะ
ตรัสพระสัทธรรมเทศนาและบัญญัติสิกขาบทนั้นเหมือนกัน ก็เกิดขึ้นไม่ได้ เพราะฉะนั้นแล
ในคราวหนึ่ง จึงมีพระพุทธเจ้าเกิดได้เพียงพระองค์เดียวเท่านั้น ขอถวายพระพร
ราชา สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ผู้เป็นปิ่นประชาชาวสาคลนครก็สโมสรโสมนัส ตรัสสาธุ
การ ชมปัญญาของพระนาคเสน ดุจนัยที่วิสัชนามาแต่หลัง
ทวินนัง พุทธานัง โลเก อุปปัชชปัญหา คำรบ 8 จบเพียงนี้

คีหิปัพพชิตสัมมาปฏิบัตติปัญหา ที่ 9


ราชา อาห

สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดีพระราชโองการถามซึ่งอรรถปัญหา
อื่นว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้เฉลิมปราชญ์ปรีชาญาณ สมเด็จพระบรมโลกนาถ
ศาสดาจารย์มีพระพุทธฎีกาโปรดไว้ว่า ภิกฺขเว ดูรานะภิกษุทั้งหลาย อหํ อันว่าตถาคตนี้มา
สรรเสริญซึ่งสัมาปฏิบัติ ถ้าผู้ใดปฏิบัติดีแล้วเป็นประเสริฐ อาจเกิดมรรคเกิดผลจะได้เลือกว่า
คฤหัสถ์ จะได้เลือกว่าบรรพชิต หามิได้ ถ้าผู้ใดปฏิบัติดีแล้ว ก็จะได้มรรคได้ผลเป็นอันเที่ยงแท้
นี่แหละพระผู้เป็นเจ้า ถ้าว่าฉะนั้นแล้ว โยมเห็นว่าเป็นคฤหัถ์ที่ปฏิบัติดี ได้เปรียบกว่า สบายกว่า
ด้วยว่าคฤหัสถ์นี้ โอทาตวสโน จะนุ่งผ้าขาวผ้าดำผ้าแดงผ้าด้ายผ้าไหมประการใดก็ได้ มิได้ว่า
มิได้มีพระพุทธฎีกาทรงบัญญัติสิกขาบทห้าม กามโภคี ยินดีในที่จะบริโภคซึ่งรูปะ สัททะ คันธะ
รสะ โผฏฐัพพะ ได้ตามปรารถนา รูปะ คือยินดีที่จะเชยชมรูปหญิงเป็นต้น สัททะคือเสียง
ดุริยดนตรีเสียงขับร้อง คันธะ คือของหอมอันชื่นใจ รสะ คือรสในอาหาร โผฏฐัพพะ คือสิ่งที่จะ
ถูกต้องมีเคล้าคลึงเป็นต้น คฤหัสถ์ยินดีในสิ่งเหล่านี้ได้ตามปรารถนา และจะมีบุตรภรรยาอย่าง
ไรก็ได้ ไม่มีข้อห้าม และจะไล่ทาซึ่งของหอมอย่างไรก็ทำได้ทรงได้สิ้น สาทิยนฺโต จะชื่นชม
ิยินดีซึ่งเงินทองสร้างสมไว้ก็ได้ โมลิพนฺโธ จะมุ่นมวยผมแล้ว จะประดับให้วิจิตรไปด้วยแก้วและ
ทองนั้นก็ได้ไม่ขัด คฤหัสถ์เห็นปานดังนี้ คืออุบาสกอุบาสกา สมฺมาปฏิปนฺนา จะชวนกันปฏิบัติ
เป็นสัมมาปฏิบัติ คือจำเริญซึ่งสมถกรรมฐาน และวิปัสสนากรรมฐาน ภาวนาไปก็จะสำเร็จ